กฎหมายน่ารู้ ตอน ไม่พกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัว มีความผิด

กฎหมายน่ารู้ ตอน ไม่พกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัว มีความผิด

หลายครั้งที่เรามักลืมนำบัตรประจำตัวประชาชนไปข้างนอก เพราะคิดว่าไม่ได้ไปไหนไกล แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่มีอายุตั้งแต่ 7-70 ปี ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นของตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องพกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ถือบัตรเอง   

ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 17 กำหนดว่า “ผู้ถือบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ผู้ใดไม่สามารถแสดงบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ มีความผิดทางพินัย ต้องชำระค่าปรับไม่เกิน 200 บาท”    

จะเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเท่านั้น ที่จะต้องพกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจบัตรประจำตัวประชาชน หากนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงไม่ได้ ต้องระวางโทษปรับ แต่ทราบหรือไม่ เด็กอายุตั้งแต่ 7 - 15 ปี จะไม่พกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวก็ได้ ไม่มีความผิด

#กฎหมายน่ารู้ #เพจบอกข่าวเล่าเรื่อง #PRD1 #สำนักประชาสัมพันธ์เขต1 #กรมประชาสัมพันธ์

ข้อมูลจาก : - พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 17 - พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มาตรา 39


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar